Principles

หลักคิดกรอบในการขับเคลื่อนงานโดยอาศัยหลักการศาสนา

 

1.) การประพฤติปฏิบัติ 3 ประการ จะได้รับฮิกมะฮฺจากอัลลอฮฺ   ฮิกมะฮฺ หมายถึง เหตุผลทางปัญญา   คือ

1.) พูดความจริง

2.) รักษาอามานะฮฺ หรือหน้าที่รับผิดชอบ  6 ประการ ต่ออัลลอฮฺ  ต่อรอซูล ต่อบิดา

มารดา ต่อบุตรและภรรยา ต่อตนเองและต่อสังคม

3.) ประพฤติปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

และส่วนรวม นับวันยิ่งเหินห่าง ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ยุคโลกาภิวัฒน์  หรือระบบทุนนิยม บริโภคนิยม เงินนิยม และอำนาจนิยม ดังนั้นการใช้กรอบหลักคิดของศาสนา เป็นกระบวนการที่มีความยั่งยืน นำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เป็นการยอมรับจากทุกฝ่าย

 

2.) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางหลักศาสนา

1.) หลักสายกลาง  คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า “ จงกิน จงดื่ม แต่จงอย่าสุรุ่ยสุร่าย เพราะอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงรักผู้สุรุ่ยสุร่าย”  และ “ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ยจงอย่าห้ามสิ่งดีทั้งหลายที่อัลลอฮฺอนุมัติสำหรับสูเจ้าและจงอย่าละเมิดแท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงรักผู้ละเมิด”

  2.)  เงื่อนไขความรู้  อัลฮาดิษ   จงศึกษาตั้งแต่อู่(เปล่)จนถึงหลุมฝังศพ ”  “ การแสวงหาความรู้เป็นหน้าที่จำเป็นแก่มุสลิมชายและหญิง  ”

                         3.) เงื่อนไขคุณธรรม  คุณลักษณะของศาสดามูฮำมัด (ซล.)

  • Ø ศีลดิก         ความว่า  =    วาจาสัตย์
  • Ø อามานะฮฺ    ความว่า   =    ความซื่อสัตย์
  • Ø ตับลีฆ        ความว่า   =    นำศาสนาเผยแพร่
  • Ø ฟาตอนะฮฺ    ความว่า   =    เฉลียวฉลาดทันคน

4.) นำสู่   สันติสุขในโลกนี้ (ดนยา) และโลกหน้า(อาคีเราะฮฺ)

3.) ปรัชญา เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา

ขั้นตอนที่ 1  คำว่า ตะอรุฟ  ” ซึ่งแปลว่า “ การรู้จักซึ่งกันและกัน ” ไม่ใช่เป็นการรู้จักฝ่ายเดียว คนข้างบนต้องไปรู้จักคนข้างล่าง คนข้างล่างต้องรู้จักคนข้างบนนั่นคือ “ การเข้าถึง ”

ขั้นตอนที่ 2  คำว่า ตะฟาฮุม คือ “ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ” ไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าใจแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องทำความเข้าใจในอีกฝ่ายด้วย นั่นคือ   “ ความเข้าใจ ”

                   ขั้นตอนที่ 3  คำว่า ตะอวุ่น คือ “ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป้าของมันคือ  “ การพัฒนา ”  หลักอิสลามพูดชัดเจน “ ท่านจงช่วยเหลือในความดีและความยำเกรงต่อพระเจ้า และอย่าช่วยเหลือบนสิ่งที่เป็นบาปและสิ่งที่สร้างศัตรู ”

วิสัยทัศน์ รูปแบบ เป้าหมาย พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

ü ความหวังในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

                 1.)  ผู้นำไฝหารู้  หมายถึง ผู้นำทุกกลุ่มที่ขับเคลื่อนงานการพัฒนา สร้างชุมชนเป็นสุข ต้องเปิดโลกทัศน์ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผู้นำทั้ง 8 กลุ่ม คือ

1.1) ผู้นำเป็นที่เป็นทางการ  คือ ท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อบต.,ทต.)  และผู้นำศาสนา ( อีหม่ามประจำมัสยิด)

1.2.) ผู้นำเผยแพร่ศาสนา คือ โต๊ะฆูรู /บาบอ ,ครูสอนอัล-กุรอานตามบ้านพักอาศัยและชุมชนต่าง ๆ , อุสตาดโรงเรียนตาดีกา, อุสตาดโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ,นักดะวะฮฺ

1.3.) ผู้นำกลุ่มองค์กร  เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี  ร้านค้าชุมชน ฯลฯ

1.4.) ผู้นำอาวุโสที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน หมอบ้าน  หมอตำแย ฯลฯ

1.5.) ผู้นำนักศึกษา  เช่น กลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษา นักศึกษาที่จบแล้วว่างงาน บัณฑิตอาสาทุกหน่วยงาน

1.6.) ผู้นำเยาวชน กลุ่มนักกีฬาประจำชุมชน เช่น นักกีฬา ฟุตบอล ฯลฯ

1.7.) ผู้นำองค์กรเอกชน  มูลนิธิ สมาคม ชมรม ที่เป็นองค์กรการกุศล

1.8.) ผู้นำส่วนราชการ  เช่น โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน สถานีอนามัยประจำชุมชน

                 2.) ชุมชนรับรู้ถ้วนหน้า หมายถึง บุคคล ครอบครัว กลุ่มบุคคล องค์กรใน ชุมชน ภาคประชาชนจะต้องได้รับรู้กระบวนการพัฒนาชุมชน การพัฒนาอย่างทั่วถึง ร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถ ร่วมกันเรียนรู้สิ่งที่ไม่รู้ ที่ได้รับการถ่ายถอดจากผู้นำเป็นบ่อยครั้ง

                3.) กระจายรายได้สู่ชุมชน  หมายถึง กิจกรรมควรเกิดในชุมชนให้เกิดความยั่งยืน เป็นแหล่งเรียนรู้ กระจ่ายความรู้ในระดับชุมชนการเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้ครอบคลุมทุกประเด็นงาน สานสัมพันธ์ความรู้สึกเดี่ยวกัน สร้างจิตสำนึกร่วมกัน

               4.)  การพัฒนาอย่างยั่งยืน  หมายถึง การพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของชุมชน  โดยชุมชน  เพื่อชุมชนและร่วมกันออกแบบกิจกรรม วิเคราะห์ความเป็นไปได้ ที่สอดคล้องกับสภาพชุมชน

               5.) นำความสุขทั้งโลกนี้และปรโลก หมายถึง มุสลิมถือว่า การอยู่บนโลกอันศรีวิไลใบนี้ เพื่อกักตุนคุณงามความดี ตามแนวทางของศาสนา “ กระบวนทัศน์อิสลามหรือวิถีอิสลาม ” เป้าหมายสูงสุดนั้นคือในวันปรโลก วันแห่งการสอบสวนจะชี้ชัดว่า  นรกหรือสวรรค์.

 

หลักคิดในการปฏิบัติงานสุขภาวะชุมชน  4  ด้าน คือ

  • Ø 1.) ด้านร่างกาย   คือ การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ท่ามกลาง

สิ่งแวดล้อม ไม่มีอุบัติภัย

  • Ø 2.) ด้านจิตใจ  คือ จิตใจที่เป็นสุข  ปรับตัวได้เมื่อเผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลง
  • Ø 3.) ด้านสติปัญญา คือ  การรอบรู้ รู้เท่าทัน สรรพสิ่ง มีเมตตากรุณา มีสติ มีสมาธิ
  • Ø 4.) ด้านสังคม  คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี ในครอบครัว ชุมชน สถานที่ทำงาน คนในชุมชน

รวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี มีความเสมอภาคและมีสันติภาพ

ชุมชนสุขภาวะ  หมายถึง  ชุมชนที่มีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเกิดภาวะที่ดีในด้าน กาย จิตใจ ปัญญาและสังคม โดยเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันขององค์กรชุมชน เทศบาล สถานีอนามัย โรงเรียน  และองค์กรอื่น ๆ

  • Ø 5. เรื่องหลัก   คือ  1.) การเรียนรู้ชุมชนเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว, 2.) การดูแลสุขภาพ

ชุมชน ,3.) การจัดสวัสดิการสังคม , 4.) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  5.) การพัฒนานโยบายสาธารณเพื่อสุขภาวะชุมชน   

  • Ø 11. ระบบสำคัญ  1.)  ระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน , 2.)  ระบบองค์กรผู้นำ

ชุมชน , 3.)  ระบบอาชีพที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ , 4.) ระบบการศึกษาเพื่อชีวิต, 5.) ระบบการจัดการบริการสุขภาพ  , 6.)  ระบบอาสาสมัคร, 7.)  ระบบการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน ,8.)  ระบบสวัสดิการ, 9.)  ระบบเศรษฐกิจชุมชน, 10.) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทรัพยากรและพลังงานทดแทน,11.) ระบบสื่อสารและข้อมูลชุมชน

 

ระบบสังคมใหญ่ประกอบด้วยระบบย่อย  9  ระบบ ได้แก่          

  • Ø 1.) ระบบสุขภาพ  2.) ระบบสภาวะอาหาร  3.) ระบบการศึกษา-เรียนรู้  4.) ระบบสภาพ

ชีวิตการทำงาน   5.) ระบบศาสนา-ความเชื่อ-วัฒนธรรม  6.) ระบบสภาพที่อยู่อาศัย-สิ่งแวดล้อม  7.) ระบบชีวิตครอบครัว  8.) ระบบชุมชน-การเข้าถึงบริการของรัฐ   9.) ระบบประชารัฐการมีส่วนร่วม

ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน คือ

  • Ø 1.)การบริการทางสังคม 2.) การศึกษา 3.) สุขภาพอนามัย 4.) ที่อยู่อาศัย 5.) การฝึก

อาชีพ 6.) การประกอบอาชีพ 7.) นันทนาการ 8.) กระบวนการยุติธรรม  ลักษณะรูปแบบ และวิธีการในการดำเนินการ เช่น การเสริมการพัฒนา การสงเคราะห์ การคุ้มครอง การป้องกัน การแก้ไข

 

ลักษณะกิจกรรมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาของมูลนิธิ

        ลักษณะการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ แบ่งออกเป็น ดังนี้ คือ

1.)    กิจกรรมภายในบริเวณอาคารสำนักงานมูลนิธิฯ  ในบริเวณสำนักงานมูลนิธิฯ มี

กิจกรรมที่ดำเนินการตลอดปี เช่น การจัดฝึกอบรมการอาชีพเพาะเห็ดให้กับเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  ฝึกปฏิบัติการการผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน  การศึกษาเพื่อชีวิตสำหรับเยาวชนและผู้ปกครอง ได้มีการดำเนินการจัดตั้ง “ ศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชน ”  มีฐานการเรียนรู้สำหรับประชาชนโดยทั่วไป ประกอบด้วยดังนี้

1.1.   ฐานการเรียนรู้แก็สชีวภาพ  ทีมงานมีความสามารถในการอธิบายหรือเป็นวิทยากร

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นตอนกระบวนการผลิตแก็สชีวภาพสำหรับครัวเรือนได้ และมีถังแก็สชีวภาพสำหรับเป็นชุดสาธิตประกอบการอธิบายที่ใช้ประโยชน์ได้จริง

1.2.) ฐานการเรียนรู้อุปกรณ์เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

สามารถเรียนรู้ของความประหยัดได้ สัมผัสได้ เช่น ชุดอุปกรณ์ประหยัดพลังงานประเภทใช้เชื้อเพลิง เตาชีวมวล เตาย่างไก่ เตาเผาถ่าน ฯลฯ

1.3.) ฐานการเพาะเห็ด  ซึ่งเป็นฐานเริ่มแรกของการริเริ่มของกระบวนการจัดการองค์กร

ชุมชน โดยได้มีการพัฒนายกระดับการใช้เครื่องมือในการผลิต เช่น เครื่องผสม เครื่องอัดก้อนเชื้อ เครื่องตีป่นขี้ฝ้าย ซึ่งสามารถในการผลิตเชื้อเห็ด ( ห้องเเล็บ ) ผลิตก้อนเชื้อเห็ดชนิดต่าง ๆ และผลิตดอกเห็ดเพื่อเป็นตัวอย่างในแต่ละชนิดเห็ด

1.4.) ฐานการผลิตถ่าน เป็นทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงยุคของการประหยัด โดยเฉพาะ

การใช้เศษไม้ให้เป็นประโยชน์ การเผาถ่าน การใช้ไม้เงาะที่หมดสภาพสามารถผลิตเป็นถ่านใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

1.5.) ฐานการเลี้ยงปลาดุก บ่อปลาดุกข้างอาคารโรงเรือนต่าง ๆ ในบริเวณมูลนิธิฯ เป็น

การจัดการที่ดินให้มีประโยชน์ ทุกตารางนิ้วที่ดินสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับครอบครัวได้ อย่างเป็นรูปธรรม

1.6.) ฐานผลิตปุ๋ยหมัก ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดสภาพสามารถจัดการ แปรสภาพให้เป็นปุ๋ย

หมักได้ โดยใช้กระบวนการผลิต การตีป่นก้อนเชื้อเห็ดให้ละเอียดผสมกับขี้เถ้าจากเตานึ่งก้อนเชื้อเห็ดหมักไว้ประมาณ 3 – 5 เดือนย่อยสลายเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพเพราะก้อนเชื้อจากการนึ่งฆ่าเชื้อแล้วเป็นปุ๋ย

1.7.) ฐานสวนสุขภาพ  สวนพืชสมุนไพร เป็นชนิดพืชพื้นบ้าน ถ่ายทอดไปยังลูกหลานการ

รู้จักชนิดพืชอย่างกว้างขวาง

1.8.) ฐานฝึกงานเชื่อมเหล็ก โรงฝึกเชื่อมโดยมีทีมงานที่ชำนาญการสามารถถ่ายทอด

ความรู้มายังผู้สนใจ และเป็นโรงผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

1.9.) ฐานฝึกสมาธิสนามเปตอง

1.10.) ฐานพลังงานแสงอาทิตย์

เป็นการดำเนินการตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องตามบริบทพื้นที่  คือ การพัฒนากระบวนการคิด การอยู่อย่างพอประมาณ การจัดการพื้นที่ให้มีคุณค่า การสร้างภูมคุ้มกัน ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่

ในการดำเนินการดังกล่าวมีประชาชนมาเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  และดำเนินการโครงการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับผู้นำศาสนา ท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการสวัสดิการสังคม เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล  ปี 2560 ประชาชนจะต้องได้รับสวัสดิการสังคมอย่างถ้วนหน้า เพราะมูลนิธิฯได้รับประสานงานจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส เป็นวิทยากร ในฐานะคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาสด้วย

 

2.) กิจกรรมการบริการทางสังคมแบบมีส่วนร่วม เช่น

1.) สถานที่การประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้าน   หมู่ที่  2 ตำบล  โละจูด อำเภอแว้ง

จังหวัดนราธิวาส

2.) สถานที่การประชุมของคณะกรรมการชุมชน ( เทศบาลตำบลบุเกะตา )

3.) สถานที่พบปะปรึกษาหารือ โครงการมัสยิดสานใจป้องภัยยาเสพติด ฉก. 35

ร้อย.ร. 1234

4.) สถานการฝึกอบรมการอาชีพแก่สตรี ศูนย์หมอนไหมเฉลิมพระเกียรติ

5.) สถานที่การประชุมคณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

6.) สถานฝึกอาชีพการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ประเภทเตาเชื้อเพลิง

เช่นเตาเผาถ่าน เตาย่างไก่ และถังหมักแก็สชีวภาพ ฯลฯ

7.) สถานที่แหล่งเรียนรู้สำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

8.) โครงการ  การจัดการตำบลสุขภาพ  ภาคีร่วม สาธารณสุขอำเภอ  สาธารณสุขจังหวัด และ อสม.

 

3.) กิจกรรมนอกสถานที่ (เครือข่าย) ของมูลนิธิ            เช่น

3.1.) วิทยากรการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจ พระราชบัญญัติส่งเสริม

การจัดสวัสดิการสังคม

3.2.) วิทยากรกระบวนการ โครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน สนองพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับพลังงานจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส

3.3.) กิจกรรมโครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงในมิติศาสนา ให้กับ

ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำภาคประชาชน

4.) ผลพลอยได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรการกุศลต่างชาติ  เช่น

4.1.) มูลนิธิ islammic community of  milli   goros  ประเทศเยอรมัน  ในลักษณะวัน

สำคัญทางศาสนา เช่น วันกุรบ่านประจำปี  วันละศิลอด

4.2.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและมนุษยธรรม  (The Foundation for

Human Rights and Freedoms and Humanitarian Relief ) หรือ IHH  ในลักษณะกิจกรรมวัน สำคัญทางศาสนา เช่น  วันกุรบ่านประจำปี  วันละศิลอด และการก่อสร้างที่พักเด็กกำพร้า

4.3.) มูลนิธิเอเชีย( สหรัฐอเมริกา) จัดกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ความขัดแย้ง ในรูปแบบ

การจัดสัมมนาเชิงวิชาการ

4.4.)  wefa ในลักษณะวัน สำคัญทางศาสนา เช่น วันกุรบ่านประจำปี  วันละศิลอด

 

แหล่งทุน  พันธะกิจ  ผลการดำเนินงาน

1.)  ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในลักษณะเงินอุดหนุนประจำปี จากเงินงบประมาณแผ่นดินในรูปแบบ “ กองทุนการจัดสวัสดิการสังคม ” การได้รับ

เงินอุดหนุนประจำ ต้องเขียนโครงการขอเป็นประจำทุกปี ใน  2 ลักษณะ คือ

1.1) ส่งโครงการผ่านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส  พัฒนาสังคมฯส่งต่อไปยังกระทรวงพัฒนาฯ (พม.) จะได้การพิจารณาตามรอบงบประมาณประจำปี

1.2) ส่งโครงการผ่านคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีการพิจารณาปี  3 ครั้ง

2.) ได้รับการบริจาคจากบริษัทห้างร้านต่าง ในลักษณะกิจกรรมเฉพาะกิจ   เช่น กิจกรรมเยี่ยมเยียนผู้ต้องขังประจำปี กิจกรรมออกบวชในเดือนศีลอดประจำปี กิจกรรมอุปกรณ์การเรียนเด็กฐานะยากจน ฯลฯ

3.)  ผลพลอยได้ของการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฯต่างชาติจากประเทศตุรกีและประเทศเยอรมัน ในลักษณะการบริจาคการกุศล  เช่น

3.1.กลุ่มเอ็น.จี.โอ. จากประเทศเยอรมัน ชื่อว่า  islammic community of  milli  goros

เช่น  เมื่อปี  2553  ได้รับการบริจาควัวกุรบ่าน (ซะกาต)  จำนวน  30 ตัว เป็นวัวกุรบ่านประจำปี  ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้รับการประสานงานจากอดีตนักศึกษาอียิปต์ เพราะเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯดังกล่าว และเคยเป็นนักศึกษาจากประเทศอียิปต์ด้วยกัน ได้มีการประสานงานกันเพื่อช่วยเหลือสังคม

3.2.มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและมนุษยธรรม  (The Foundation for Human

Rights and Freedoms and Humanitarian Relief ) หรือ IHH เป็นองค์กร NGO จากประเทศตุรกีมาสมาชิกทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ   ก่อตั้งในปี 1992 และจดทะเบียนในอิสตันบูลในปี 1995 นายวาฮีดุดีน ตัวแทนมูลนิธิฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการก่อสร้างที่พักเด็กกำพร้า ภายใต้โครงการการจัดสวัสดิการสังคมผู้ด้อยโอกาสในสังคมจังหวัดชายแดนใต้ จำนวนเงิน 1,439,365 บาท โดยทางมูลนิธิ ฯ ได้ดำเนินการ ก่อสร้างที่พักเด็กกำพร้าที่ บ้านยูโย หมู่ที่ 6 ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากได้รับบริจาคที่ดินในการก่อสร้าง โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2553 ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สถานที่พักอัสรามาแห่งนี้โดยมีนายมาหะมะ มามะ เป็นผู้ดูซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่บริจาค โดยตามหลักการอิสลามนั้นทุกคนจะต้องดูแลเด็กกำพร้าเพราะเป็นฟัรดู ส่วนสถานที่แห่งที่ 2 กำลังดำเนินการประสานงานยังไม่ได้รับงบประมาณและยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพียงแต่กำลังประสานเพื่อขอสนับสนุนเท่านั้น แต่คิดว่าน่าจะเป็นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี

3.3.มูลนิธิเอเชีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินกิจกรรมเวทีพื้นที่ความขัดแย้ง ในลักษณะเชิงวิชาการ