AboutUs

History

ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิ ฯ ปีจุดประกายแนวทางการพัฒนาชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2540  อาจารย์สอวี มามะ อาจารย์โรงเรียนบ้านบูเกะตา ได้เล็งเห็นถึงเยาวชนไม่มีอาชีพและไม่มีกิจกรรมเพื่อคลายความวิตกในชีวิตตัวเอง  สถานการณ์นั้นส่อเสี่ยงในเรื่องยาเสพติด จน ได้มีการรวบรวมบรรดาเยาวชนในเขตสุขาภิบาล (สมัยนั้น) ได้จำนวน  29  คน  กิจกรรมมีการประชุมพบปะพูดคุย ปรึกษาหารือ ที่บ้านอาศัยของตนเองเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยใช้เวลากลางคืน มีการหารือในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งที่ประชุมมีการนำเสนอประเด็นการอาชีพที่หลากหลายประเภทขึ้นเพื่อรองรับ และก็มีการสรุปกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การเพาะเห็ด  จึงได้มีการเชิญอาจารย์ ซาการียา บิณยูซูฟ หรือ ครูยา  (ผู้เขียน)  อาจารย์จากโรงเรียนรอมาเนีย และทำงานให้กับมูลนิธิโรงเรียนรอมาเนีย โดยได้มีการเปิดสอนวิชาการอาชีพเพาะเห็ดในโรงเรียน มาช่วยอธิบายทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการเพาะเห็ด  ซึ่งที่ประชุมนั้น เยาวชนได้ให้ความสนใจที่จะทำการศึกษา ก็ได้มีการดำเนินกิจกรรมพบปะพูดคุยอย่างเนื่อง ต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างสถานการณ์  พอมาปลายปี พ.ศ. 2540  จึงได้เริ่มมาฝึกเรียนรู้และฝึกปฏิบัติขึ้นเป็นระยะเวลา  2  วัน กับ 1 คืน ณ โรงเรียนรอมาเนีย โดยใช้หลักสูตร …

View page »

Logo

คำอธิบายเครื่องหมายสัญลักษณ์ 1.สัญลักษณ์หนังสือสีเขียว 3 เล่ม ลักษณะการวางหนังสือเรียง 2 เล่ม และวางพิง 1   เล่ม ที่บ่งบอกถึงการใฝ่หารู้ของประชาชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ลักษณะการวางซ้อนกันและเล่มที่ 3 ลักษณะการเปิด ที่บ่งบอกถึงการใฝ่หารู้ของประชาชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถ การศึกษาเรียนรู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง มีลักษณะสวยงามมีความเป็นระเบียบที่หมายถึงการมีวินัย สื่อถึงการศึกษาบนพื้นฐาน ชาติ ศาสนา มหากษัตริย์  ถ้าอาจหมายถึงการขับเคลื่อนงานกิจกรรมบนพื้นฐานของศาสนาอิสลามนั้นคือ คัมภีนขร์อัล-กุรอ่าน  ซุนนะ (แบบฉบับรอซูลลูลอฮฺ ) และอิจมออ.อุลามะฮฺ (บรรดานักปราชญ์) 2.พระจันทร์ครึ่งเสี้ยวสีเหลืองอร่าม ที่บ่งบอกถึง การเกิดฤดูกาลการณ์ เช่น ฤดูการผสมพันธ์ของสัตว์นานาชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผนดิน ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ลักษณะรูปทรงและการวางเป็นรูปลักษณะหงาย สง่างาม ปลายมุมพระจันทร์ทั้ง 2 มุม บนและ ล่าง มีข้อความว่า จิต กาย สังคม สติปัญญา หมายถึง การพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ ที่ควรได้รับ โดยมีความว่า  จิต หมายถึง จิตใจเป็นสุข ปรับตัวเมื่อเผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลง …

View page »

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ /ความหวังของเรา ผู้นำใฝ่หารู้  ชุมชนรับรู้ก้าวหน้า กระจายรายได้สู่ชุมชน พัฒนาอย่างยั่งยืน  นำความสุขทั้งโลกนี้และปรโลก   พันธกิจ           จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง บุคคลและองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคม ที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ   คำจำความตำบลสุขภาวะ                    สุขภาพหรือสุขภาวะ    หมายความว่า : ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย ทางจิต ทางปัญญา และสังคม                    สุขภาวะทางกาย         หมายความว่า : การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง ท่ามกลาง สิ่งแวดล้อม ไม่มีอุบัติภัย                    สุขภาวะทางจิต           หมายความว่า:  จิตใจที่เป็นสุข ปรับตัวได้เมื่อเผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลง                    สุขภาวะทางปัญญา  …

View page »

Objective

วัตถุประสงค์มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ข้อ 1.) ส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาและกิจกรรมทางศาสนาตามกระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนา กระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนา หมายถึง การพัฒนาตามวิถีอิสลามซึ่งเป็นทั้งระบบความเชื่อและแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมพฤติกรรมของมนุษย์ในทุก ๆ  ด้านตั้งแต่เกิดจนตายโดยมีรากฐานจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญในการดำเนินชีวิตและมีแบบฉบับของท่านศาสดามูฮัมมัดให้ดำเนินการเจริญรอยตาม มีหลักและแนวปฏิบัติวางไว้ครอบคลุมทุกด้าน มีบทบัญญัติกำชับไว้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นด้านศีลธรรม จรรยาบรรณ สังคม วัฒนธรรมและเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง มีระบบยุติธรรม  การคลี่คลายข้อขัดแย้ง การศึกษา การแต่งงาน การครองเรือน การอย่าร้างการแบ่งมรดก การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรม และอื่น ๆ ข้อ 2.) ส่งเสริมการฝึกอบรม ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการอาชีพที่หลากหลายและปลอดภัย ข้อ 3.) บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศล และให้ความร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ ข้อ 4.) สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ อนาถา กำพร้า พิการ ผู้สูงอายุ (ตามข้อกำหนด คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมายเป็นผู้รับบริการสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2555) ข้อ 5.) ส่งเสริมกิจกสร้างสุขภาวะของชุมชน ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่ ข้อ 6.) ส่งเสริมบทบาทสถาบันครอบครัวให้มีความตระหนักต่อครอบครัวและชุมชน …

View page »

Guidelines

View page »

Board

คณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข รายชื่อคณะกรรมการ 1.) นายซาการียา       บิณยูซูฟ              ประธานกรรมการ 2.) นายมาหามะ        เจ๊ะอุมา               รองประธานฯ 3.) นายมานิต            ยะแนสะแม         กรรมการเลขานุการ 4.) นางสาลินี            บิณยูซูฟ              กรรมการ/เหรัญญิก 5.) นางมิรินี               อาเดอนาน          ผู้ช่วยเหรัญญิก 6.) นางสุดาวรรณ      นุห์                      กรรมการ 7.) นายสอวี              มามะ                  กรรมการ 8.) นายฆอสาลี         สอเหาะ               กรรมการ   คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ 1.) นายซูลกีฟรี เจ๊ะมามะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโละจูด 2.) นายอับดุลรอหิง นุห์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบูเกะตา 3.) นายวันอิสมาแอล แวอาแซ อีหม่ามมัสยิดดารุลซาอาดะห์บูเกะตา 4.) …

View page »

Funding sources to drive the work of the Foundation

แหล่งทุนในการขับเคลื่อนงานของมูลนิธิ ในการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ นอกจากการใช้งบจากการบริจาคซะกาตของบรรดาสมาชิกและญาติพี่น้องแล้ว รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจากการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ เช่น การจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ด การจำหน่ายถ่าน การจำหน่ายปลาดุก ก็ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ  เช่น 1.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   ตามมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม  ฉบับ พ.ศ.  2546  และ ปรับปรุ ง พ.ศ. 2550  ซึ่งมูลนิธิได้รับการรับรองจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เป็น  “ องค์กรสาธารณประโยชน์  ”  ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสและสามารถเข้าแหล่งกองทุนตาม พรบ. ได้ คือ 1.1) กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 1.2) กองทุนคุ้มครองเด็ก 1.3) กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 1.4) กองทุนผู้สูงอายุ โดยกระบวนการการได้มางบประมาณจากกองทุนดังกล่าวข้างต้นนั้นมี  2 ลักษณะ คือ –          การเขียนโครงการขอสนับสนุนในลักษณะงบอุดหนุนประจำปีงบประมาณ ตามกรอบและเงื่อนไข ปีละไม่เกิน  3  โครงการ โดยส่งผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือส่งผ่านโดยตรง ส่งปีนี้ได้ปีหน้า ได้บ้างไม่ได้บ้าง อยู่ที่สถานการณ์ของการเมืองและงบประมาณของประเทศ ขอสนับสนุน …

View page »

Performance funding commitment

แหล่งทุน  พันธะกิจ  ผลการดำเนินงาน 1.)  ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในลักษณะเงินอุดหนุนประจำปี จากเงินงบประมาณแผ่นดินในรูปแบบ “ กองทุนการจัดสวัสดิการสังคม ” การได้รับเงินอุดหนุนประจำ ต้องเขียนโครงการขอเป็นประจำทุกปี ใน  2 ลักษณะ คือ 1.1) ส่งโครงการผ่านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส  พัฒนาสังคมฯส่งต่อไปยังกระทรวงพัฒนาฯ (พม.) จะได้การพิจารณาตามรอบงบประมาณประจำปี 1.2) ส่งโครงการผ่านคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีการพิจารณาปี  3 ครั้ง 2.) ได้รับการบริจาคจากบริษัทห้างร้านต่าง ในลักษณะกิจกรรมเฉพาะกิจ   เช่น กิจกรรมเยี่ยมเยียนผู้ต้องขังประจำปี กิจกรรมออกบวชในเดือนศีลอดประจำปี กิจกรรมอุปกรณ์การเรียนเด็กฐานะยากจน ฯลฯ 3.)  ผลพลอยได้ของการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฯต่างชาติจากประเทศตุรกีและประเทศเยอรมัน ในลักษณะการบริจาคการกุศล  เช่น 3.1.กลุ่มเอ็น.จี.โอ. จากประเทศเยอรมัน ชื่อว่า  islammic community of  milli  goros  เช่น  เมื่อปี  2553  ได้รับการบริจาควัวกุรบ่าน (ซะกาต)  จำนวน  30 …

View page »

Activities of the Foundation

[Show as slideshow] 1 2 … 11 ►

View page »

กรรมาธิการวิสามัญ ฯและตามสมาคม ฯ

View page »

Leave a Reply