Learning the way of community life

ศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชน

               เป็นกิจกรรมหนึ่งของมูลนิธิที่ดำเนินงาน เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับชุมชนที่ได้แวะมาเยี่ยมเยียน  ศึกษาเรียนรู้ ในลักษณะ ปัจเจกชน กลุ่มองค์กร ครอบครัว และญาติมิตรสหาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน เพื่อจะนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต และนำไปพัฒนาขีดความสามารถ โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปสู่การปฏิบัติ การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรมชายแดนใต้ ภายใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิ

มูลนิธิเป็นองค์กรนิติบุคคล  นิติบุคคล คือไม่ใช่บุคคลธรรมดาแต่เป็นการรวมตัวของกลุ่มบุคคล ที่ต้องการกระทำการใด ๆ ที่มีผลทางนิตินัย ดังนั้น จึงได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มของตนเองให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือ การกระทำใด ๆ ที่มีผลทางกฎหมายนั้นเอง

               ลักษณะของมูลนิธิ

1.) เป็นองค์การเอกชน มูลนิธิถือเป็นองค์การเอกชนไม่ใช่องค์การรัฐบาล เพราะจัดตั้งขึ้นและดำเนินงานโดยเอกชนหรือประชาชน
2.) มีฐานะเป็นนิติบุคคล มูลนิธิที่จัดตั้งจะต้องจดทะเบียนต่อทางราชการเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้วจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล
3.) ไม่เป็นการหาผลกำไร วัตถุประสงค์ของมูลนิธิจะต้องไม่เป็นการหาผลกำไร        มูลนิธิส่วนมากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลและสาธารณประโยชน์
4.) มีข้อบังคับหรือตราสาร มูลนิธิจะมีตราสาร ซึ่งจดทะเบียนไว้กับทางราชการ         การดำเนินงานของมูลนิธิ จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับและตราสารที่กำหนดไว้
5.) มีคณะกรรมการดำเนินงาน มูลนิธิจะมีคณะกรรมการตามจำนวนที่กำหนด        ไว้ในข้อบังคับหรือตราสาร  รับผิดชอบในการดำเนินงานโดยมีประธานมูลนิธิเป็นประธานคณะกรรมการเป็นผู้แทนของมูลนิธิ ในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและในการทำนิติกรรมใดๆ ของมูลนิธิ

เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการองค์กรจึงได้ร่วมกันก่อตั้งเป็น ศูนย์ปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจังหวัดชายแดนใต้  ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เป็นโครงการที่ได้พัฒนาการจากโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้ที่ปากใต้ ขับเคลื่อนงาน ( อ่านในประวัติของมูลนิธิ ) ซึ่งเป็นบทเรียนที่สามารถขับเคลื่อนไปสู่การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะในการบริหารจัดการทุนทางสังคมในประเด็นต่าง ๆ เช่น การศึกษาบูรณาการห้องเรียนเรียนวิถีอิสลาม การบริหารจัดการชุมชนด้วยระบบชูรอ และการจัดการสวัสดิการสังคมระบบซะกาต การอาชีพที่ปลอดภัย เป็นต้น

 

ทีมวิทยากรประจำฐานเรียนรู้แตะละฐาน

ศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชน ”  มีฐานการเรียนรู้สำหรับประชาชนโดยทั่วไป ประกอบด้วยดังนี้

1.1.)  ฐานการเรียนรู้แก็สชีวภาพ  ทีมงานมีความสามารถในการอธิบายหรือเป็นวิทยากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นตอนกระบวนการผลิตแก็สชีวภาพสำหรับครัวเรือนได้ และมีถังแก็สชีวภาพสำหรับเป็นชุดสาธิตประกอบการอธิบายที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งสามารถผลิตได้

 

1.2.)  ฐานการเรียนรู้อุปกรณ์เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประหยัด พลังงานสามารถเรียนรู้ของความประหยัดได้ สัมผัสได้ เช่น ชุดอุปกรณ์ประหยัดพลังงานประเภทใช้เชื้อเพลิง เตาชีวมวล เตาย่างไก่ เตาเผาถ่าน ฯลฯ

 

1.3.)  ฐานการเพาะเห็ด  ซึ่งเป็นฐานเริ่มแรกของการริเริ่มของกระบวนการจัดการองค์กร ชุมชน โดยได้มีการพัฒนายกระดับการใช้เครื่องมือในการผลิต เช่น เครื่องผสม เครื่องอัดก้อนเชื้อ เครื่องตีป่นขี้ฝ้าย ซึ่งสามารถในการผลิตเชื้อเห็ด ( ห้องเเล็บ ) ผลิตก้อนเชื้อเห็ดชนิดต่าง ๆ และผลิตดอกเห็ดเพื่อเป็นตัวอย่างในแต่ละชนิดเห็ด

 

1.4.)  ฐานการผลิตถ่าน เป็นทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงยุคของการประหยัด โดยเฉพาะ การใช้เศษไม้ให้เป็นประโยชน์ การเผาถ่าน การใช้ไม้เงาะที่หมดสภาพสามารถผลิตเป็นถ่านใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

 

1.5.)  ฐานการเลี้ยงปลาดุก บ่อปลาดุกข้างอาคารโรงเรือนต่าง ๆ ในบริเวณมูลนิธิฯ เป็น การจัดการที่ดินให้มีประโยชน์ ทุกตารางนิ้วที่ดินสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับครอบครัวได้ อย่างเป็นรูปธรรม

 

1.6.)  ฐานผลิตปุ๋ยหมัก ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดสภาพสามารถจัดการ แปรสภาพให้เป็นปุ๋ย หมักได้ โดยใช้กระบวนการผลิต การตีป่นก้อนเชื้อเห็ดให้ละเอียดผสมกับขี้เถ้าจากเตานึ่งก้อนเชื้อเห็ดหมักไว้ประมาณ 3 – 5 เดือนย่อยสลายเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพเพราะก้อนเชื้อผ่านจากการนึ่งฆ่าเชื้อแล้วเป็นปุ๋ย

 

1.7.)  ฐานสวนสุขภาพ  สวนพืชสมุนไพร เป็นชนิดพืชพื้นบ้าน ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน การรู้จักชนิดพืชอย่างกว้างขวาง

1.8.)  ฐานฝึกงานเชื่อมเหล็ก โรงฝึกเชื่อมโดยมีทีมงานที่ชำนาญการสามารถถ่ายทอด ความรู้มายังผู้สนใจ และเป็นโรงผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

1.9.)  ฐานฝึกสมาธิสนามเปตอง

1.10.)  ฐานพลังงานแสงอาทิตย์(มิติพลังงาน)

 

1.11.)  ฐานจักรยานสูบน้ำเพื่อสุขภาพ(มิติพลังงาน)

 

 

เป็นการดำเนินการตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องตามบริบทพื้นที่  คือ การพัฒนากระบวนการคิด การอยู่อย่างพอประมาณ การจัดการพื้นที่ให้มีคุณค่า การสร้างภูมคุ้มกัน ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่  ในการดำเนินการดังกล่าวมีประชาชนมาเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  และดำเนินการโครงการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับผู้นำศาสนา ท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดการสวัสดิการสังคม เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล  ปี 2560 ประชาชนจะต้องได้รับสวัสดิการสังคมอย่างถ้วนหน้า เพราะมูลนิธิฯได้รับประสานงานจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส เป็นวิทยากร ในฐานะคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาสด้วย

ยิ่งในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมอาเซียน มีผลบังคับใช้ ทำให้ชุมชนจะต้องมรการรณรงค์สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนทุกระดับ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบด้านสังคมที่อาจจะเกิดขึ้น ลำพังให้หน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวคงไม่ทันการ เพราะมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารองค์กรทุก ๆ  4 ปี ทำให้ประชาชนขาดโอกาสที่ควรจะเป็น ดังนั้น ขอเรียกร้องให้ภาครัฐ ให้มีการสนับสนุนในการขับเคลื่อนของภาคเอกชนอย่างเป็นธรรม จึงจะเรียกได้ว่า “ เสริมสร้างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย  ”  สังคมไทยน่าอยู่ขึ้นเยอะเลย

 

                                                                             ซาการียา บิณยูซูฟ

ประธานมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข