โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

               การให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน และลดการใช้พลังงานในระดับประเทศได้ ภาคประชาชนเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดการใช้พลังงาน แต่ในส่วนของประชาชนในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่มีความรุนแรงด้านความขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ได้รับความรู้ด้านพลังงานไม่ทั่วถึง พลังงานจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3จังหวัดชายแดนใต้ สำหรับแหล่งจ่ายพลังงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มาจากโรงไฟฟ้าจะนะ เขื่อนบางลางฯ การประหยัดพลังงานจึงเป็นภารกิที่ต้องดำเนินการโดนเร่งด่วนควบคู่ไปกับการหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในพื้นที่3จังหวัดชายแดนใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์

          1.เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานกับประชาชนในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนใต้

          2.เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานในระดับท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืนต่อการอนุรักษ์พลังงาน

          3.เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการประหยัดพลังงาน และเกิดทัศนคติที่ดีต่อการ   อนุรักษ์พลังงานให้กับประชาชนในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนใต้

 

พลังงานที่เหมาะสมกับชุมชน

          เตาแก๊สประหยัดพลังงาน  เตาแก๊สเป็นอุปกรณ์ใช้พลังงานชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันมีการใช้งานแทบทุกครัวเรือน ซึ่งเตาแก๊สประหยัดหลังงานเป็นเตาแก๊สที่มีการปรับปรุงพัฒนา โดยนำหลักการกลศาสตร์มาออกแบบ โดยเร่งให้แก๊สดึงอากาศด้านข้างจากใต้ฐานเตาทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ได้ความร้อนสูง ลดคราบเขม่า และสามารถลดอัตราการใช้แก๊สได้ร้อยละ 20-50

          หลอดไฟฟ้าแอลอีดี(LED) หลอด LED มีจุดเด่นหลายอย่างคือใช้พลังงานต่ำ แต่ให้ประสิทธิภาพการส่องสว่างที่สูงมาก ไม่มีแสง UV ไม่กระพริบขณะเปล่งแสง การเปิด-ปิดหลอดไฟ LED สามารถเปิดปิดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลารอนานเป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด

          ถุงหมักก๊าซชีวภาพ แบบถุงพีวีซี (PVC) บ่อหมักก๊าซชีวภาพขนาดครัวเรือน จะมีขนาดตั้งแต่ 6-12 ลูกบาศก์เมตร บ่อหมักแบบถุงพีวีซีจะมีส่วนของบ่อหมักจะฝังลงไปในพื้นดินครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งของบ่อหมักจะอยู่บนผิวดิน โดยการผลิตก๊าซชีวภาพโดยถุงหมักก๊าซแบบถุงพีวีซี มีข้อดี ข้อด้อย ดังนี้

 

ข้อดี ข้อด้อย
1.ได้ปริมาณก๊าซพอเหมาะกับครัวเรือน 1.โอกาสก๊าซจะรั่วสูงหากประกอบไม่ดี
2.วัสดุหาได้ง่ายตามท้องตลาด 2.ต้องทำกาล้างระบบบ่อยๆ
3.ต้นทุนต่ำ 3.ต้องมีการปรับแต่งหัวเตา
4.การใช้งานไม่ซับซอน  
5.อายุการใช้งานนาน  
6.กำจัดขอเสียในครัวเรือนเป็นระบบฯ  
7.ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม  
8.ได้ปุ๋ยเป็นผลพลอยได้  

 

 

รายชื่อบัญชีมัสยิดเข้าร่วม

โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนใต้

 

จังหวัดนราธิวาส

          1.มัสยิดอัลฮีดายะตุลอิสลามียะห์ (อัลเราะมาน)       ม.2 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

          2.มัสยิดราษฎรพัฒนา       ม.7 บ้านปิเหล็ง ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส  

          3.มัสยิดบูเกะสูดอ        ม.2 ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

          4.มัสยิดนูรูลฮูดา (โคกมือบา)       ม.4 ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส                            

          5.มัสยิดอัลซีซียะห์       ม.1 ต.ช้างเผือก อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

 

จังหวัดปัตตานี

          1.มัสยิดน้ำบ่อ       ม.2 ต.น้ำบ่อ   อ.ปะนาเระ  จ.ปัตตานี                   

          2.มัสยิดนูรูลอิสลาม (บ้านบน)       ม.2 ต.ปะเสยะว  อ อ.สายบุรี  จ.ปัตตานี

          3.มัสยิดนูรุลมุตตากีน (รังมดแดง)        ม.2 ต.ดอนทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี

          4.มัสยิดนูรุลญันนะฮ์(บลูกาตือเงาะ)       ม.2 ต.ลุโบ๊ะยิไร  อ.มายอ จ.ปัตตานี

          5.มัสยิดนูรูฮีดายะ       ม.2 ต.เกาะเปาะ อ.หนองจิก  จ.ปัตตานี                   

 

จังหวัดยะลา

          1.มัสยิดฟาตะห์อิสลามี       ม.6 ต.เนินงาม  อ.รามัน จ.ยะลา                               

          2.มัสยิดรียาคุสอลีฮีน (ยือลาปันบน)       ม.1 ต.ตลิ่งชัน   อ.บันนังสตา จ.ยะลา                              

          3.มัสยิดบ้านกำปง       ม.2 บ้าน ตันหยง จ.ยะลา                              

          4.มัสยิดฮับดลฆามา       ม.7 บ้านเตียง ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา จ.ยะลา                              

          5.มัสยิดนูรูลฮูดา       ม.1 บ้านปูแล ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา จ.ยะลา