Performance funding commitment

แหล่งทุน  พันธะกิจ  ผลการดำเนินงาน

1.)  ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในลักษณะเงินอุดหนุนประจำปี จากเงินงบประมาณแผ่นดินในรูปแบบ “ กองทุนการจัดสวัสดิการสังคม ” การได้รับเงินอุดหนุนประจำ ต้องเขียนโครงการขอเป็นประจำทุกปี ใน  2 ลักษณะ คือ

1.1) ส่งโครงการผ่านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส  พัฒนาสังคมฯส่งต่อไปยังกระทรวงพัฒนาฯ (พม.) จะได้การพิจารณาตามรอบงบประมาณประจำปี

1.2) ส่งโครงการผ่านคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีการพิจารณาปี  3 ครั้ง

2.) ได้รับการบริจาคจากบริษัทห้างร้านต่าง ในลักษณะกิจกรรมเฉพาะกิจ   เช่น กิจกรรมเยี่ยมเยียนผู้ต้องขังประจำปี กิจกรรมออกบวชในเดือนศีลอดประจำปี กิจกรรมอุปกรณ์การเรียนเด็กฐานะยากจน ฯลฯ

3.)  ผลพลอยได้ของการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฯต่างชาติจากประเทศตุรกีและประเทศเยอรมัน ในลักษณะการบริจาคการกุศล  เช่น

3.1.กลุ่มเอ็น.จี.โอ. จากประเทศเยอรมัน ชื่อว่า  islammic community of  milli  goros  เช่น  เมื่อปี  2553  ได้รับการบริจาควัวกุรบ่าน (ซะกาต)  จำนวน  30 ตัว เป็นวัวกุรบ่านประจำปี  ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้รับการประสานงานจากอดีตนักศึกษาอียิปต์ เพราะเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯดังกล่าว และเคยเป็นนักศึกษาจากประเทศอียิปต์ด้วยกัน ได้มีการประสานงานกันเพื่อช่วยเหลือสังคม

3.2.มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและมนุษยธรรม  (The Foundation for Human Rights and Freedoms and Humanitarian Relief ) หรือ IHH เป็นองค์กร NGO จากประเทศตุรกีมาสมาชิกทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ   ก่อตั้งในปี 1992 และจดทะเบียนในอิสตันบูลในปี 1995 นายวาฮีดุดีน ตัวแทนมูลนิธิฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการก่อสร้างที่พักเด็กกำพร้า ภายใต้โครงการการจัดสวัสดิการสังคมผู้ด้อยโอกาสในสังคมจังหวัดชายแดนใต้ จำนวนเงิน 1,439,365 บาท โดยทางมูลนิธิ ฯ ได้ดำเนินการ ก่อสร้างที่พักเด็กกำพร้าที่ บ้านยูโย หมู่ที่ 6 ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากได้รับบริจาคที่ดินในการก่อสร้าง โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2553 ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สถานที่พักอัสรามาแห่งนี้โดยมีนายมาหะมะ มามะ เป็นผู้ดูซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่บริจาค โดยตามหลักการอิสลามนั้นทุกคนจะต้องดูแลเด็กกำพร้าเพราะเป็นฟัรดู ส่วนสถานที่แห่งที่ 2 กำลังดำเนินการประสานงานยังไม่ได้รับงบประมาณและยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพียงแต่กำลังประสานเพื่อขอสนับสนุนเท่านั้น แต่คิดว่าน่าจะเป็นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี

3.3.มูลนิธิเอเชีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินกิจกรรมเวทีพื้นที่ความขัดแย้ง ในลักษณะเชิงวิชาการ

 

ภารกิจในการขับเคลื่อนรอบปีที่ผ่านมา  งานประเภทการพัฒนาชุมชน เช่น

ปีพุทธศักราช   2554

1.) โครงการพัฒนาศักยภาพ ชีวิตเยาวชนจังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดนราธิวาส ลักษณะกิจกรรม

– เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ กับการเปลี่ยนแปลงในสังคม บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม

– การฝึกอาชีพที่สนใจ เช่น การเพาะเห็ด ช่างเชื่อม ฯลฯ

2.)   โครงการเสริมสร้างพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดนราธิวาส ลักษณะกิจกรรม

– การยอมรับในสภาวการณ์ โดยใช้มิติศาสนาเข้ามาช่วยเสริม

– การฝึกอาชีพที่สนใจ

3.) โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีพื้นที่เป้าหมาย   40 ตำบล  จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และสี่อำเภอจังหวัดสงขลา ระยะในการดำเนินการ  3  ปี ( ปีพ.ศ. 2552 – 2555 ) ลักษณะกิจกรรม

– ขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ที่ตอบสนองขบวนการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่น  เพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน  เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายตำบลสุขภาวะด้วยวิถีศาสนธรรมกับการพัฒนา  เพื่อสร้างองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติการในพื้นที่   เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะชุมชนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน

–  สร้างกระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดชุมชนแบบมีส่วนร่วม หรือระบบชูรอ

–  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้นำที่มีบทบาทในชุมชน

–  การศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการ ธรรมมาภิบาล

–  กิจกรรมสร้างสรรค์/โครงการนำร่อง

 

ผลการดำเนินการในรอบปีทีผ่านมา

1.)  สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้มาเยือนในลักษณะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ประจำฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ  และเสริมสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนกรอบของศาสนา คือ ระบบการจัดการชุมชนด้วยระบบชูรอ

2.)  กลุ่มเป้าหมายมาเยือน ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา และผู้นำภาคประชาชน จำนวน  25 ตำบลในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ คือจังหวัดนราธิวาส 13 ตำบล,ปัตตานี  20 ตำบลและสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา 7 ตำบล

3.)  สถาบันการศึกษาสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน  5 โรงเรียน

4.)  กลุ่มเยาวชนตามแผนงานของโครงการ และการบริการแบบมีส่วนร่วม

5.)  เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ของอำเภอแว้ง

 

แผนในการขับเคลื่อนในปีต่อไป

1.)    ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนสามจังหวัดชายแดนใต้ ตามแผนงานโครงการประจำปีของมูลนิธิ โดยกลุ่มเป้าหมายเยาวชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษา และเด็กด้อยโอกาสในสังคม และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม และกองทุนต่าง ๆ

2.)    จัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน เพื่อสื่อสารกับสังคม

3.)    เปิดศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชน ให้กับสถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน องค์กรเอกชน มาศึกษาเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ

4.)    การบริการทางสังคมแบบมีส่วนร่วม เป็นพื้นที่ตำบลต้นแบบในการกระบวนการจัดการชุมชน ระบบ ชูรอ การอาชีพที่หลากหลาย ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 

Leave a Reply