ประวัติผู้ก่อตั้ง

ประวัติผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข

1.) ชื่อ นายซาการียา บิณยูซูฟ  หรือรู้จักในนาม  ครูยา  เกิด วันที่ 10   กุมภาพันธ์  2504

2).อยู่บ้านเลขที่  53/7  หมู่ที่ 2  ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส  96160   โทรศัพท์ 081-7672434 , 073-530-650  Email:sakrin999@yahoo.com 

3.) สถานภาพ สมรส   บุตร   5   คน

4.) ประวัติการศึกษา

    4.1  ปริญญาตรี สาขาการศึกษา  วิชาเอกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยครูยะลา ปี พ.ศ. 2533   

    4.2  ปริญญาโท สาขาความขัดแย้งและสันติศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

          หาดใหญ่

5.) อาชีพ ทำสวน วิทยากร องค์กรเอกชน ( NGOS )

6.) ประวัติการทำงานอาสาสมัคร

       เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528   เป็นผู้นำอาสาสมัครชุมชน ( ผู้นำ อช.) หน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอรามัน (พช.) จังหวัดยะลา  ทำหน้าที่ช่วยเหลือพัฒนากรประจำอำเภอรามัน ในการเข้าหมู่บ้านส่งเสริมการพัฒนา ทำความเข้าใจในการปรับปรุงคุณภาพผลิตผลทางการเกษตร และเสริมสร้างจิตสำนึกของการเปลี่ยนแปลงในสังคม

      ปี พ.ศ. 2530 – 2534 เป็นครูการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน หน่วยงานกรมการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยะลา ทำหน้าที่การสอนให้กับกลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือไทยโดยทำหน้าที่การสอนในเวลากลางคืนในเขตพื้นที่ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยมีเป้าประสงค์ให้คนไทยทุกคนรู้หนังสือไทย อ่าน ออก เขียนได้ โดยเฉพาะเขียนชื่อตัวเอง ซึ่งจบหลักสูตรจะได้วุฒิบัตรการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔   มีจำนวนหลายรุ่นในพื้นที่ในตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

      ปี  พ.ศ. 2543 – 2549  ทำหน้าที่ให้กับมูลนิธิโรงเรียนรอมาเนีย ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ในฐานะเจ้าหน้าที่แผนงานและโครงการ จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพในกับกลุ่มเยาวชนในพื้นเขตแดนชายแดนใต้ ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการอาชีพ ด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ซึ่งสามารถจัดตั้งกลุ่มอาชีพการเพาะเห็ด กลุ่มเล็ก ๆ ขึ้นและปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นศูนย์การเพาะเห็ดบูเกะตา ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน

      ปี พ.ศ. 2543  รวมกันจัดตั้งกลุ่มอาชีพเยาวชนบูเกะตา หมู่ที่ 2 ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ดำเนินกิจกรรมการเพาะเห็ดจำหน่าย ซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม 30  คน สามารถทำให้เยาวชนมีงานอดิเรก มีรายได้เสริม   และเมื่อ ปีพ.ศ. 2549  ได้ยกฐานะกลุ่มอาชีพเพาะเห็ด โดยรวบรวมสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนจัดตั้ง  มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข  ขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรูปแบบการแก้ปัญหาสังคม การพัฒนาสังคม และการให้การสงเคราะห์ด้านสังคม ตามยุทธศาสตร์ของกระทรวง และกระรวงพลังงาน

      ปี  2548  ได้ร่วมกับ นายจำลอง ไกรดิษฐ์ นายอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ก่อสร้างบ้านพักอาศัยของผู้ประสบภัยน้ำท้วมในเขตพื้นที่อำเภอแว้งจำนวน  12  หลังคาเรือน ใช้งบประมาณ ของอำเภอแว้งและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)  และขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยชนบท  ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ได้ร่วมดำเนินขับเคลื่อนโครงการพัฒนาชุมชนเป็นที่ภาคใต้:ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ ในนาม เครือข่ายชุมชนมุสลิม

      ใน ปี  2547 – 2549  โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งขับเคลื่อนในพื้นที่  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีวัตถุประสงค์ “ ชุมชนเป็นสุข คนมีสุขภาวะ เกิดอารยธรรม ได้มีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยปฏิบัติการร่วมกับท้องถิ่น (โดยรายละเอียดตามข้อ 11.3 )

7.) ตำแหน่งด้านสังคม

     5.1 ประธานมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข (องค์กรสาธารประโยชน์)

  • คณะกรรมส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาส ( กสจ.)
  • คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดนราธิวาส
  • คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กจังหวัดนราธิวาส
  • คณะอนุกรรมการรับรองมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรภาคเอกชน เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์และรับรององค์กรภาคประชาชน เป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนจังหวัดนราธิวาส
  • วิทยากรผู้เชี่ยวชาญวางแผนพลังงานชุมชน และ คณะกรรมการพลังงานจังหวัดนราธิวาส
  • ประธานสมาคมสันติบาตมูลนิธิจังหวัดนราธิวาส
  • สมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้

8.) ประสบการณ์งานเขียนถอดบทเรียน  3  ประเด็น  การถอดบทเรียน ในประเด็นต่าง ๆ ได้หนังสือ  3 ประเด็น

           1).การศึกษาบูรณาการศาสนาและสามัญ  ห้องเรียน: วิถีอิสลามสู่การเรียนรู้เพื่อให้ความรู้อยู่คู่คุณธรรม

           2).ชูรอ การจัดการชุมชนที่ควรเรียนรู้เพื่อชุมชนสมานฉันท์

           3.) สวัสดิการชุมชนมุสลิม: ภายใต้กระบวนทัศน์อิสลามด้านเศรษฐกิจ

           4.) บทความ    การศึกษาบูรณาการศาสนาและสามัญ:รูปแบบการจัดการศึกษาที่ปรารถนาของชุมชน   3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  (The Integrated Religion and Elementary Education  is the Education System in the Hope of Communities  in 3  Border  Provinces of the South)  ม.ทักษิณนำไปพิมพ์เผยแพร่           5.) เขียนหนังสือกึ่งวิชาการ ถอดบทเรียนในการดำเนินกิจกรรมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชูรอของเราเส้นทางสร้างสันติสุขด้วยการกระบวนการองค์กร

 

9.) ได้รับรางวัล

            9.1 เมื่อปี พ.ศ. 2550  อาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ 

            9.2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2551 โล่เกียรติยศ จากกระทรวงพลังงาน เครือข่ายกระทรวงพลังงาน

            9.3 เมื่อ ปี พ.ศ.2553  ผู้นำชุมชนดีเด่น   Thailand energy  award  2010

            9.4 ปี พ.ศ. 2555  ได้รับการคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของ ศอ.บต. สาขาการพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์

            9.5 ได้รับโล่ ของคณะกรรมาธิการพลังงาวุฒิสภา ปี 255610.) ได้รับการฝึกอบรมและเกียรติบัตร

           10.1 ปี พ.ศ. 2548 โครงการฝึกอบรมสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารออมสิน หลักสูตรการบริหารจัดการและการทำบัญชี

           10.2 ปี พ.ศ.  2549  ใบประกาศเชิดชูเกียรติ  ต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน จากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

           10.3 ปี พ.ศ. 2551 ประกาศกระทรวงพลังงาน หลักสูตรภาวะผู้นำและการฝึกเป็นวิทยากรแบบมีส่วนร่วม และหลักสูตร นักวางแผนพลังงานแบบมีส่วนร่วม และเกียรติบัตร คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำเสนอบทความทางวิชาการ  ชุมคน ชุมชน คนใต้

            10.4 ปี พ.ศ. 2552 – 2553 ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรี

            10.5 ปี พ.ศ. 2552 เกียรติบัตร คนดีศรีนรา ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

            10.6 ปี พ.ศ. 2555 ในวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย พ.ศ.2555 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย “ มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ” ในฐานะองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น

11.) โครงการที่ได้ขับเคลื่อนในพื้นที่ ดังนี้

     11.1.) โครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชนสนองพรราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 – 2553  สืบเนื่องจากการที่ได้ดำเนินการโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน สนองพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่  80   (2550)   ชุมชน  162 (2551)  ชุมชน 300 ( 2552) ชุมชน  และ 75 (2553)  ชุมชน ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  เช่น

             11.1.1    180  ชุมชน ปี   พ.ศ.  2550   คือ   เทศบาลตำบลยี่งอ  อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

             11.1.2   162   ชุมชน ปี พ.ศ.   2551    คือ   องค์การบริหารส่วนตำบลกาเยาะมาตี  อำเภอบาเจาะ  และเทศบาลตำบลต้นไทร  อำเภอบาเจาะ  จังหวัดนราธิวาส

  • 300   ชุมชน  ปี พ.ศ.  2552    คือ  องค์การบริหารส่วนตำบลโละจูด  อำเภอ

แว้ง  องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง , องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก   อำเภอเจาะไอร้อง , และองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส

  • 75 ชุมชน ปี พ.ศ. 2553  คือ  องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ  อำเภอบาเจาะ  จังหวัดนราธิวาส

รูปแบบของโครงการนั้นมีกระบวนขั้นตอนที่ชัดเจนคือบัญญัติ  10  ประการ เป็นกระบวนที่สามารถสร้างการเรียนรู้ถึงชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และกลมกลืนกับความต้องการของประชาชนในด้านการประหยัดรายจ่ายเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือน นั้นคือการใช้พลังงานอย่างฉลาดและมีทางเลือกในการใช้พลังงานตลอดจนได้เรียนรู้สถานการณ์พลังงานของประเทศ

     11.2.) โครงการถ่ายทอดความรู้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เขตพื้นที่  5  จังหวัดชายแดนใต้  ( ปี 2555 ) จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 1,800 คน มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ในฐานะเป็นศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชนด้านพลังงานทดแทน กลุ่มเป้าหมายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงาน

             11.2.3 โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้พลังงานมิติศาสนาอิสลามในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป้าหมายมัสยิด 15 แห่ง ( ปัตตานี 5 แห่ง ยะลา 5 แห่ง และนราธิวาส 5 แห่ง ) มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ในฐานะเป็นศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชนด้านพลังงานทดแทน กลุ่มเป้าหมายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงาน ( ปี 2556)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             11.2.4 โครงการต้นแบบเครื่องกรองน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มเป้าหมาย 15 ชุมชน ( ปัตตานี 4 แห่ง ยะลา 5 แห่ง และนราธิวาส 6 แห่ง ) ปี 2559

 

 

 

 

 

 

             11.2.5 โครงส่งเสริมเทคโนโลยีเตา สองกระทะ เพื่อความสามัคคีในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มัสยิด 300 แห่ง ปี 2559

             11.2.6 โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 15 ชุมชน ปี 2560 ( ปัตตานี 5 แห่ง ยะลา 5 แห่ง และนราธิวาส 5 แห่ง )  คู่มือพลังงานฉบับภาษายาวี

 

              ซึ่งก่อนที่จะเคลื่อนงานตามโครงการนั้น คือ กระบวนการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายของโครงการคือ ท้องถิ่น (อบต.และทต.) เพราะต้องทำงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่นประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย เช่น ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ) ผู้นำศาสนา ( อีหม่ามประจำมัสยิด /คณะกรรมการประจำมัสยิด กลุ่มผู้นำเผยแผ่ศาสนา (  อุสตาดครูสอนโรงเรียนตาดีกา,ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม,นักเผยแพร่ศาสนา ) กลุ่มองค์กรชุมชน(กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ) กลุ่มนักศึกษาบัณฑิตอาสา กลุ่มองค์กรเอกชน และหน่วยงานราชการ( โรงเรียน อนามัยชุมชน )  ฯลฯ ฉะนั้นในการดำเนินโครงการจะต้องไปประสานงานไปยังกลุ่มบุคคลดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐาน เพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการของโครงการ  ด้านพลังงานใน 3 ประเด็น เช่น พลังงานคืออะไร แหล่งที่มาของพลังงาน เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร และการใช้พลังงานมีผลกระทบอย่างไร ซึ่งประเด็นพลังงานนั้นเป็นเรื่องใหม่ของชุมชนจังหวัดนราธิวาส ประชาชนนั้นยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัวและยังไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตัวเองมากนัก

              ในการสื่อสารนั้นพยายามสื่อและบูรณาการกับมิติความเชื่อทางศาสนาอิสลามใน “ มิติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งมุสลิมในจังหวัดนราธิวาสยึดหลักการสอนศาสนาอิสลามค่อนข้างเคร่ง ในกระบวนการปฏิบัติตามหลักศาสนานั้นมีด้วยกัน  3 มิติ คือ

              1.มีติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ผ่านพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาด 5 เวลา การถือศิลอด การออกซะกาต(ทาน) ฯลฯ 

              2.มิติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ การอบยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรมและ “

              3.มิติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ”  ประเด็นการเรียนรู้ธรรมชาติ  พลังงานคุณธรรมในการดำเนินชีวิต

 

                                                                                 โครงสร้างของอิสลาม

                             หลักการศรัทธา 6 ประการ       หลักการปฏิบัติ  5 ประการ          คุณธรรมดำเนินชีวิต

                                        (รูก่นอีมาน)                             ( รูก่นอิสลาม)                             ( เอี๊ยะฮุซาน) 

                                 1. ศรัทธาในอัลเลาะห์                1. การปฏิญาณตน                        1.จรรยา มารยาท

                                 2. ศรัทธาในมาลาอีก๊ะฮฺ              2. การละหมาด                            2. ครอบครัว

                                 3. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์            3. การถือศิลอด                            3. สังคม

                                 4. ศรัทธาในรอซู้ล                     4. การจ่ายซะกาต                         4. เศรษฐกิจ

                                 5. ศรัทธาในวันคืนชีพ                5. การพิธีฮัจจ์                               5. การเมือง

                                 6. ศรัทธาในกำหนดสภาวะ                                                            6. พลังงานเพื่อชีวิต

                                                                                                                                    7.อื่น ๆ

          ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเกิดสถานการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินไม่สามารถที่จะประเมินค่าความเสียหายได้ และสถานการณ์นั้นไม่มีที่ท่าที่จะสงบโดยเร็ว ซึ่งนำสู่ความรู้สึกของประชาชนยิ่งหวาดระแวงซึ่งกันและมากขึ้นไปเรื่อย ๆ  ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนกับภาครัฐ ประชาชนกับประชาชน ตลอดจนโครงการของรัฐทีมีหลากหลายลักษณะ เช่น มิติความมั่นคงของประเทศ แต่ความมั่งคงของมนุษย์มักจะมีน้อย

ในการเคลื่อนงานประเด็นพลังงานนั้นสามารถที่จะเชื่อมโยงความรู้สึกของประชาชนที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมได้ เพราะนำหลักปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว “  เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา  ”  โดยบูรณาการกับหลักการศาสนาอิสลามและโดยนำกระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนาหรือศาสนธรรมกับการพัฒนา หมายถึงการพัฒนาตามวิถีอิสลามซึ่งเป็นทั้งระบบความเชื่อและแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมพฤติกรรมของมนุษย์ในทุก ๆ  ด้านตั้งแต่เกิดจนตายโดยมีรากฐานจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นธรรมนูญในการดำเนินชีวิตและมีแบบฉบับของท่านศาสดามูฮัมมัดให้ดำเนินการเจริญรอยตาม มีหลักและแนวปฏิบัติวางไว้ครอบคลุมทุกด้าน มีบทบัญญัติกำชับไว้ทุกประการไม่ว่าจะเป็นด้านศีลธรรม จรรยาบรรณ สังคม วัฒนธรรมและเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง มีระบบยุติธรรม  การคลี่คลายข้อขัดแย้ง การศึกษา การแต่งงาน การครองเรือน การอย่าร้างการแบ่งมรดก การใช้พลังงาน การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรม และอื่น ๆ  โดยมีบันใด  3 ขั้น คือ

                     1.) ตะอรุฟ ” ซึ่งแปลว่า “ การรู้จักซึ่งกันและกัน ” ไม่ใช่เป็นการรู้จักฝ่ายเดียว คน

ข้างบนต้องไปรู้จักคนข้างล่าง คนข้างล่างต้องรู้จักคนข้างบนนั่นคือ  “  การเข้าถึง ”

                     2.) ตะฟาฮุม คือ “ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ” ไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าใจแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องทำความเข้าใจในอีกฝ่ายด้วย นั่นคือ    “  ความเข้าใจ ”

                     3.) ตะอวุ่น คือ “ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”ซึ่งเป้าของมันคือ “การพัฒนา ”  หลักอิสลามพูดชัดเจน “  ท่านจงช่วยเหลือในความดีและความยำเกรงต่อพระเจ้า และอย่าช่วยเหลือบนสิ่งที่เป็นบาปและสิ่งที่สร้างศัตรู”

      11.1.5  ผู้ริเริ่มการใช้ศาสนาในประเด็นพลังงาน คือ  เขียนโครงการศาสนานำทางสร้างพลังงานยั่งยืน  โดรงการการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ในการชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนใช้ภาษาง่าย ๆ เรียนรู้ พยายามสื่อสารให้เกิดการเรียนรู้นำไปปฏิบัติได้ทันที พื้นที่เป้าหมาย มัสยิดในจังหวัดนราธิวาส  633  แห่ง และสถาบันการศึกษา ในโรงเรียนเอกชสอนศาสนาและโรงเรียนของรัฐ ในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ ในมิติศาสนากับการใช้พลังงานทดแทน เป็นการสนองพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

      11.2  โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนจังหวัดชายแดนใต้  และ โครงการ เสริมสร้างพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับในนามองค์กร คือ มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข (องค์กรสาธารณประโยชน์ ) ซึ่งมีการดำเนินการเป็นประจำทุกปี ในลักษณะส่งเสริมการเรียนรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ประเด็นสวัสดิการสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับเยาวชนขาดโอกาส

       11.3  โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ( พ.ศ. 2553 – 2555)   เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.) ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ พื้นที่เป้าหมายของโครงการ  20  ตำบลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้กับ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ในระยะเวลา  3  ปี  40  ตำบล

          กระบวนการเคลื่อนงานของโครงการจะเน้นกระบวนการจัดการชุมชนระบบ “ ชูรอ ”  คือ ชูรอ เป็น ภาษาอาหรับมาจากคำเต็ม  ว่า อัช-ชูรอ  (al-shura) ซึ่งแปลว่า การ ปรึกษาหารือดังมีหลักการสอนในคัมภีร์อัลกุรอาน(อัช-ชูรอ : 38) กล่าว ว่า และกิจการของพวกเขามีการ ปรึกษาหารือกันระหว่างพวกเขา โดยในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นั้นมีกลุ่มผู้นำที่บทบาทในชุมชนมีจำนวนหลายกลุ่ม จึงหาวิธีการให้เกิดกระบวนการมีส่วนส่วนร่วมทุกภาคส่วนในสังคม

  • ด้วยสภาพสังคมอ่อนแอ จึงควรได้รับการหารือบ่อยครั้งเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา เวที

พบปะพูดคุย ร่วมกันสะท้อนปัญหาสังคมในชุมชน ร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคม โดยยึดหลักศาสนา  มูลเหตุพฤติกรรมที่ปฏิบัติขัดตามหลักการศาสนา เช่น พฤติกรรมเยาวชนอิสระมากจนเกินเหตุ เช่น คบเพื่อนชาย ยาเสพติด อบายมุขครองเมือง ฯลฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการเป็นอยู่ของชุมชน

โดยกรอบในการเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบรรดาผู้นำที่มีบทบาทในชุมชน ซึ่งวิสัยทัศน์ดังนี้ คือ

    1.) ผู้นำไฝหารู้  หมายถึง ผู้นำทุกกลุ่มที่ขับเคลื่อนงานการพัฒนา สร้างชุมชนเป็นสุข ต้องเปิดโลกทัศน์ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผู้นำทั้ง 8 กลุ่ม คือ

                   1.) ผู้นำเป็นที่เป็นทางการ  คือ ท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อบต.,ทต.)  และผู้นำศาสนา ( อีหม่ามประจำมัสยิด)

                   2.) ผู้นำเผยแพร่ศาสนา คือ โต๊ะฆูรู /บาบอ ,ครูสอนอัล-กุรอานตามบ้านพักอาศัยและชุมชนต่าง ๆ , อุสตาดโรงเรียนตาดีกา, อุสตาดโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ,นักดะวะฮฺ   

                   3.) ผู้นำกลุ่มองค์กร  เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี  ร้านค้าชุมชน ฯลฯ

                   4.) ผู้นำอาวุโสที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน หมอบ้าน  หมอตำแย ฯลฯ

                   5.) ผู้นำนักศึกษา  เช่น กลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษา นักศึกษาที่จบแล้วว่างงาน บัณฑิตอาสาทุกหน่วยงาน

                   6.) ผู้นำเยาวชน กลุ่มนักกีฬาประจำชุมชน เช่น นักกีฬา ฟุตบอล ฯลฯ

                   7.) ผู้นำองค์กรเอกชน  มูลนิธิ สมาคม ชมรม ที่เป็นองค์กรการกุศล

                   8.) ผู้นำส่วนราชการ  เช่น โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน สถานีอนามัยประจำชุมชน

       2.) ชุมชนรับรู้ถ้วนหน้า หมายถึง บุคคล ครอบครัว กลุ่มบุคคล องค์กรใน ชุมชน ภาคประชาชนจะต้องได้รับรู้กระบวนการพัฒนาชุมชน การพัฒนาอย่างทั่วถึง ร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถ ร่วมกันเรียนรู้สิ่งที่ไม่รู้ ที่ได้รับการถ่ายถอดจากผู้นำเป็นบ่อยครั้ง

      3.) กระจายรายได้สู่ชุมชน  หมายถึง กิจกรรมควรเกิดในชุมชนให้เกิดความยั่งยืน เป็นแหล่งเรียนรู้ กระจ่ายความรู้ในระดับชุมชนการเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้ครอบคลุมทุกประเด็นงาน สานสัมพันธ์ความรู้สึกเดี่ยวกัน สร้างจิตสำนึกร่วมกัน

    4.) การพัฒนาอย่างยั่งยืน  หมายถึง การพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการชุมชน โดยมชน เพื่อชุมชนและร่วมกันออกแบบกิจกรรม วิเคราะห์ความเป็นไปได้ ที่สอดคล้องกับสภาพชุมชน

    5.) นำความสุขทั้งโลกนี้และปรโลก หมายถึง มุสลิมถือว่า การอยู่บนโลกอันศรีวิไลใบนี้ เพื่อกักตุนคุณงามความดี ตามแนวทางของศาสนา “ กระบวนทัศน์อิสลามหรือวิถีอิสลาม ” เป้าหมายสูงสุดนั้นคือในวัน ปรโลก วันแห่งการสอบสวนจะชี้ชัดว่านรกหรือสวรรค์. มีกรอบและหลักคิดในการเคลื่อนงานเป้าหมายตำบลสุขภาวะ 4  ด้าน คือ

  • ด้านร่างกาย การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ท่ามกลาง

สิ่งแวดล้อม ไม่มีอุบัติภัย

  • ด้านจิตใจ จิตใจที่เป็นสุขปรับตัวได้เมื่อเผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลง
  • ด้านสติปัญญา การรอบรู้ รู้เท่าทัน สรรพสิ่ง มีเมตตากรุณา มีสติ มีสมาธิ
  • ด้านสังคม การอยู่ร่วมกันด้วยดี ในครอบครัว ชุมชน สถานที่ทำงาน คนในชุมชน

รวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี มีความเสมอภาคและมีสันติภาพ

 

12. ได้ร่วมกันจัดตั้ง “ ศูนย์เรียนรู้สร้างสุขวิถีชุมชน ” ที่บริหารจัดการโดยมูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข ซึ่งตั้งอยู่ เลขที่ 44/9 หมู่ที่ 2 ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส โดยมีทีมงานที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ ให้กับผู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เป็นประเด็นในการถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ด้งนี้

       1.) ฐานการเรียนรู้แก็สชีวภาพ เป็นการประหยัดการใช้พลังงาน ใช้วัสดุหาง่ายมีในชุมชน ทีมงานสามารถผลิตถังแก็สได้ เพื่อสนับสนุนในชุมชนได้

       2.) ฐานเตามณฑล 2 ประหยัดเชื้อเพลิง(ไม้ฟืน)

       3.) ฐานการเรียนรู้อุปกรณ์เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ชุดสาธิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดในการใช้พลังงาน

       4.)ฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ด กระบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด ดอกเห็ด และเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ เป็นการส่งเสริมพัฒนาอาชีพของครอบครัว เยาวชนพลาดโอกาสทางการศึกษา

       5.)ฐานการเรียนรู้การผลิตถ่าน  ผลิตใช้ในครอบครัวถ่าน เหลือใช่ก็จำหน่ายในชุมชนใช้วัสดุในชุมชนใช้ประโยชน์ เช่นไม้เงาะที่หมดสภาพโดยมาใช้ประโยชน์เผาถ่าน

       6.) ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ประเด็นการเรียนรู้ในการจัดการที่ดินที่มีน้อยนิด สามารถสร้างมูลค่า

       7.)ฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมัก บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีประโยชน์ ก้อนเชื้อหมดสภาพสามารถแปรสภาพเป็นปุ๋ย

       8.) ฐานส่วนสุขภาพ พืชสมุนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคลรุ่นใหม่

       9.) ฐานการฝึกอาชีพช่างเชื่อม ศูนย์ผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน แหล่งเรียนสำหรับช่างเชื่อม

       10.) ฐานสาธิตแปลงนาดำ ( กำลังดำเนินการ )

       11.) ฐานพลังงานแสงอาทิตย์  คุ้มค่าสำหรับชีวิต เรียนรู้พลังงานธรรมชาติ

       12.) ฐานสถานีวิทยุ “สร้างสุขภาวะชุมชน ”(สสช.) คลื่นความถี่ 95.25 MHz

       13.) ฐานชุดเปรียบเทียบหลอดไฟฟ้ามาตรฐาน

       14.) ฐานชุดสาธิตกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

      ซึ่งมีประชาชน บุคคลทั่วไป ลักษณะครอบครัว ตลอดจนเด็กนักเรียน จากโรงเรียนในพื้นที่อำเภอแว้งและใกล้เคียง ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นจำนวนมาก โดยเชื่อมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปขยายผลให้กับบุคคลอื่น ๆ ต่อไป และที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้กับทีมงาน ศูนย์เรียนรู้สร้างสุขด้วยวิถีชุมชน อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ( แบบ ดีกว่า บอก )

 

                                                                                                               บันทีก

                                                                                                      ซาการียา  บิณยูซูฟ

                                                                                                     10 กุมภาพันธ์ 2557