แหล่งทุนในการขับเคลื่อนงานของมูลนิธิ
ในการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ นอกจากการใช้งบจากการบริจาคซะกาตของบรรดาสมาชิกและญาติพี่น้องแล้ว รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจากการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ เช่น การจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ด การจำหน่ายถ่าน การจำหน่ายปลาดุก ก็ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
1.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ฉบับ พ.ศ. 2546 และ ปรับปรุ ง พ.ศ. 2550 ซึ่งมูลนิธิได้รับการรับรองจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เป็น “ องค์กรสาธารณประโยชน์ ” ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสและสามารถเข้าแหล่งกองทุนตาม พรบ. ได้ คือ
1.1) กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
1.2) กองทุนคุ้มครองเด็ก
1.3) กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
1.4) กองทุนผู้สูงอายุ
โดยกระบวนการการได้มางบประมาณจากกองทุนดังกล่าวข้างต้นนั้นมี 2 ลักษณะ คือ
– การเขียนโครงการขอสนับสนุนในลักษณะงบอุดหนุนประจำปีงบประมาณ
ตามกรอบและเงื่อนไข ปีละไม่เกิน 3 โครงการ โดยส่งผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือส่งผ่านโดยตรง ส่งปีนี้ได้ปีหน้า ได้บ้างไม่ได้บ้าง อยู่ที่สถานการณ์ของการเมืองและงบประมาณของประเทศ ขอสนับสนุน 100 บาท ได้ 10 บาท ( ส่วนใหญ่จะผ่านในระดับการพิจารณาของสำนักงบประมาณ แต่ไม่ผ่านขั้นตอนของกรรมาธิการพิจารณางบประมาณของสภาของผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่ามีการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปี )
– การเขียนโครงการ ตามกรอบและเงื่อนไข เสนอผ่านคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคมประจำจังหวัด แต่ทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวนน้อยมาก ซึ่งไม่ทันกับการเปลี่ยนและสถานการณ์ของสังคมที่มีปัญหาสังคมมากมาย
องค์กรที่ดำเนินการในลักษณะ 1.) การส่งเสริมการพัฒนา 2.) การส่งเคราะห์ 3.) การคุ้มครอง 4.) การป้องกัน 5.) การแก้ไข 6.) การบำบัดฟื้นฟู การมีส่วนร่วมกับ1.) บุคคล 2.) ครอบครัว 3.) ชุมชน 4. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อบต.ทต.) 5.) องค์กรวิชาชีพ 6.) สถาบันศาสนา 7.) องค์กรอื่น ๆ
โครงการเกี่ยวข้องกับการบริการสาขาต่างๆ 1.) การบริการสังคม 2.) การศึกษา3.) การสุขภาพอนามัย 4.) ที่อยู่อาศัย 5.) การฝึกอาชีพ 6.) การประกอบอาชีพ 7.) นันทนาการ 8.) กระบวนการยุติธรรม สามารถขอการสนับสนุนจากกองทุนได้
2.) ศูนย์วิชาการเขต 8 ( จังหวัดสงขลา ) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้รับการสนับสนุน เป็นวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เช่น ลุกหมุน เตาชีวมวล แผงโซล่าเซลล์ เตาเผาขยะ ฯลฯ
3.) จากองค์กรการกุศลต่างประเทศ เช่น
3.1) มูลนิธิ islammic community of milli goros ประเทศเยอรมัน ใน
ลักษณะวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันกุรบ่านประจำปี วันละศิลอด
3.2.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและมนุษยธรรม (The
Foundation for Human Rights and Freedoms and Humanitarian Relief ) หรือ IHH
– ได้รับการสนับสนุนในการก่อสร้าง ที่พักศูนย์เด็กกำพร้า เช่น ได้ดำเนินการก่อสร้างที่บ้าน ยูโย หมู่ที่ 6 ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา
– สนับสนุนวัวกุรบ่านเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ปีหนึ่งประมาณ 50 – 70 ตัว ตลอดจนสนับสนุนถุงยังชีพสำหรับผู้ยากไร้ปีหนึ่ง 300 – 600 ถุง และอุปกรณ์การเรียนเด็กกำพร้า การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กกำพร้า
3.3.) มูลนิธิเอเชีย ( สหรัฐอเมริกา) จัดกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ความ
ขัดแย้ง ในรูปแบบการจัดสัมมนาเชิงวิชาการ
3.4.) มูลนิธิ WEFA จากประเทศตุรกี ในลักษณะวัน สำคัญทางศาสนา เช่น
วันกุรบ่านประจำปี วันละศิลอด สนับสนุนกิจกรรมเด็กกำพร้า